วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู




การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่


1.
พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
2.
การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
3.
การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
4.
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
5.
ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
6.
ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯล

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณี
     tradition

      
ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น



                     ความหมายของประเพณี
                                   ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจนเป็น แบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผน ที่เห็นว่าถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และมีการปฎิบัติสืบต่อกันมา
                      ประเภทของประเพณี
1. จารีตประเพณี
2. ขนบประเพณี
3. ธรรมเนียมประเพณี     
            จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรม และสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม มีการบังคับให้กระทำ ถ้าไม่ทำถือว่าผิดหรือชั่วต้องมีการลงโทษ
            ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่ได้มีระเบียบแบบแผนวางไว้โดยตรง หรือโดย อ้อม         
           โดยตรง คือมีระเบียบกฎเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจน
           โดยอ้อม เป็นประเพณีที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ได้วางไว้แน่นอน ปฎิบัติโดยการ บอกเล่าสืบต่อกันมา          

   3.   ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ไม่มีระเบียบแบบแผน เหมือนขนบธรรมเนียม ไม่มีถูกผิดเหมือนจารีตประเพณี เป็นเรื่องที่ปฎิบัติกัน มาจนเกิด ความเคยชิน จนไม่รู้สึกเป็นหน้าที่


วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย การเบิกน่านน้ำ


ช่วงเวลา กระทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในเทศกาลออกพรรษา ก่อนจะมีการแข่งขันเรือพาย 

ความสำคัญ

เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว